หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2565)

ชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย:  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
     ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ไทย):  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
     ชื่อย่อ (ไทย):  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
     ชื่อเต็ม (อังกฤษ):  Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)
     ชื่อย่อ (อังกฤษ):  B.Eng. (Mechanical Engineering)

ัตถุระสงค์ของหลักสูตร

1. มีคุณธรรมจริยธรรม รับผิดชอบต่อ ตนเอง สังคมวิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

2. มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และ การศึกษาต่อใน ระดับสูงขึ้นไปได้

3. มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้ และ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ และให้คิดเป็น ทำเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

4. มีมนุษย์สัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน

5. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี

 

จุดเด่นของหลักสูตร     
     หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล ในปีการศึกษา 2557

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
     วิศวกรเครื่องกลสามารถประกอบอาชีพได้หลายลักษณะทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ดังต่อไปนี้

  1. วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิต และกระบวนการต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เกี่ยวกับระบบปรับอากาศ ระบบการลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้
  2. นักวิจัยทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เกษตร ยานยนต์ อากาศยาน และหุ่นยนต์
  3. อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี